วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

รายงานประจำปี 2557 นาย สมัย เหมมั่น ตำแหน่ง รองกรรมบริหาร ฝ่าย สำนักงานและการขาย



รายงานประจำปี 2557
นาย สมัย เหมมั่น
ตำแหน่ง รองกรรมบริหาร ฝ่าย สำนักงานและการขาย
หน่วย งาน โครงการหมู่บ้าน สิวารัตน์  ภายใต้การบริหาร บริษัท และองค์กร ดังนี้
๑.บริษัท คาสเซ่อร์พีคโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ชื่อโครงการ บ้านสิวารัตน์ ๑๐ บางเลน จ.นครปฐม จำนวน แปลงจำหน่าย ๕๐๐ แปลง
๒.บริษัท คาสเซ่อร์พีคเรียลเอสเตท จำกัด ชื่อโครงการ บ้านสิวารัตน์ ๙ บางบัวทอง จ.นนทบุรี จำนวนแปลงจำหน่าย ๑๘๙ แปลง
๓.บริษัท เอกธนา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ชื่อโครงการ บ้านสิวารัตน์ ๙ บางบัวทอง จ.นนทบุรี จำนวนแปลงจำหน่าย ๑๘๙ แปลง
         ผลการบริหารการขายและการโอนและการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ประจำปี 2557 และปีต่อไป
ได้กำหนดหน้าที่ชีแจงหน้าที่ของพนักงานในสายแต่ละสายให้ทำงานให้สอดคล้องกันเพราะพนักงานมีความรู้ต่างกันได้เข้าใจให้ดีขึ้น ในสายงานของตนเอง
๑.สรุปยอดการขายโครงการ บ้านสิวารัตน์  ที่ผ่านมาและ ประจำปี 2557
- โครงการสิวารัตน์ ๑๐ บางเลน
ยอดขายในปีนี้ ๑๗๕ หลัง
ยอดขายโครงการ ทั้งหมด  ๓๐๓ หลัง
ยอดทำสัญญาทั้งหมด  ๒๙๕ หลัง
ยอดโอนกรรมสิทธิ์ ๒๕๘ หลัง 
-โครงการ สิวารัตน์ ๙ บางบัวทอง
ยอดขาย ในปี ๒๕๕๗ ทั้งหมด ๑๗๑ หลัง ๒๗๙,๒๒๐,๐๐๐ บาท
ยอดโอน ๑๑๓ หลัง๑๗๐,๖๙๔,๙๐๐ บาท

- รวมยอดขายทั้งหมด 301 ยูนิต ( เอกธนาฯ 150 ,คาสเซ่อร์ฯ 151 )
- รวมยอดทำสัญญาทั้งหมด 55 ยูนิต ( เอกธนาฯ 29 ,คาสเซ่อร์ฯ 26 )
- รวมยอดโอนทั้งหมด 246 ยูนิต ( เอกธนาฯ 122 , คาสเซ่อร์ 124 )

๒.มาตราฐานการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ปี 2557
    - ส่งเสริมปรับฐานเงิน ให้พนักงานที่มีรายได้ต่ำได้ปรับประจำปีแล้วเบื้องต้น
   - ส่งเสริมกิจกรรม รู้รักสามัคคีในหมู่คณะให้ความสำคัญในตัวพนักงานทุกคน ให้แรงใจในการทำเป้าขายเป้าทำงาน จัดเลี้ยงวันเกิดและความสำเร็จขั้นต้นของพนักงาน
   - ส่งเสริมสร้างนวัตกรรมความรู้ เพิ่มความรู้ให้พนักงานทุกระดับ ทาง (มีเดี่ยมือถือ) และเสริทักษะการขายแบบใหม่ เสริมความรู้ให้พนักงานขายใช้ เครื่องมือเป็นในการขายโดยเป็นต้นแบบของ นวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาตนให้มีความรู้และเทคนิคที่ดีขึ้น
   -เสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ การใช้สื่อใหม่ๆเพื่อลด ต้นทุนการทำงานการบริหาร
   -คัดสรรพนักงานที่มีคุณภาพร่วมงานร่วมพัฒนาองค์กรเพื่อลดต้นทุนการบริหาร
ผลการพัฒนาการก่อสร้าง
     แผนกการก่อสร้าง
 ร่วมกำหนดแผนงานการก่อสร้างมีส่วนร่วมในการพัฒนาในสายงานกับ คุณภูศักดิ์ พงษ์เฉลิม เพื่อให้โครงการพัฒนาและเดินหน้าในการประกอบธุรกิจต่อไป
     วาง มีแผนงานการก่อสร้างและร่วมปรับปรุงแผนงานการก่อสร้างตลอดเวลาเพื่อให้พัฒนาให้ดีขึ้น แผนแบบประกอบเพิ่มมาในการสั่งการและเป็นแนวทางให้  ผจก.โครงการสิวารัตน์ ปฏิบัติ  ตลอดจนชีแน่ะการวางกำหนดแผนที่ดีและวิธีการเขียนแผนงานให้กับ ผจก.โครงการ ตลอดแต่ พนักงานทุกคนมีความสามารถไม่เท่ากัน ซึ่งเป็น อุปสรรค ในการบริหารและได้ปรับกลยุทธ์ ให้ดีขึ้น ร่วมกัน  จนมีความคืบหน้าเป็นที่พอใจและคุณภาพดีขึ้น ในการก่อสร้างในปัจจุบัน

รายงานแผนการ ตลาดและการใช้สื่อที่ผ่านมา ทางการตลาด ปี 2557
-สื่อ ป้ายข้างทาง เป็นหลักที่ได้ผล ในการเรียกลูกค้า
-สื่อ ป้ายติดรถตู้ เป็นป้ายเสริมที่มีการตอบ รับและทำให้เป็นที่รู้จัดโครงการสิวารัตน์ได้ดี เช่น โครงการบางเลน เป็น ทางผ่านและมองเห็นชัด ทำให้ โครงการบางเลน มีการตอบรับจากลูกค้าได้ดี
-สื่อ วารสาร ของเราไม่เน้นสื่อ ด้านนี้เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด คนล่ะด้านกันในด้านกลุ่มเป้าหมาย
-สื่อ วิทยุชุมชน เรากำลังจัดทำ และคิดว่าจะทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
-สื่อ การออกบุท ร้านค้า ในห้าง บิกซีโลตัส จะเป็นทางเลือกที่ดีในระดับหนึ่งที่จะทำให้ กลุ่มลูกค้ารู้จัก โครงการสิวารัตน์ มากขึ้นและ จัดทำต่อไปทุกเดือนๆ
-สื่อ ใบปลิว เป็นการเข้าถึงลูกค้าทุกหลัง ในการแจกสื่อในโครงการบ้านจัดสรร เก่าๆทำให้มีลูกค้าเข้าชมมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการแจกใน ห้างดังต่างๆที่ทำอยู่ ก็ได้ผลในระดับที่หน้า พอใจเป็นอย่างมากๆ
-สื่อทางอินเตอร์เนต ลูกค้าจะไม่ให้ความสนใจ ในตอนแรกที่ค้นหา สืบหาโครงการสิวารัตน์ แต่ ทุกคนที่มาโครงการสิวารัตน์ จะเข้าชม เวปและสื่อๆต่างใน อินเตอร์เนตทีหลังทุกคนจะทราบดี มีสถิติ ในการควบคุมอย่างต่อ เนื่อง
-รับนโยบายสร้าง สินค้าตัวอย่าง หรือบ้านตัวอย่าง ที่ได้ตกแต่งบ้านที่สวยงาม และจัดการกำกับดูแลการรักษาบ้านตัวอย่างให้สวยงาม น่าชม

    กลยุทธ์และการส่งเสริมการขาย นวัตกรรมการทำงานดังนี้
๑-ส่งเสริม การเพยแพร่ สาร เฟคบุค https://th-th.facebook.com/siwarate   ส่งเสริมการขาย   
๒-ส่งการขาย การขายให้น้องทำงานการขาย มีกลุ่มลูกค้าเข้ามากและสืบค้นมาก
drsamaisiwarat9.blogspot.com/
1 ส.ค. 2557 - โครงการสิวารัตน์ 9. โครงการ เด่น ที่สุดใน บางบัวทอง จ.นนทบุรี ราคาประหยัดที่สุด ทำเลดีที่สุด คุณภาพดีกว่าราคา ถนนก้วางที่สุด โครงการที่ใหญ่ที่สุด

๓-ส่งเสริม ให้ความรู้ในการก่อสร้าง และการขายบ้านที่ดี  ให้พนักงานสร้าง นวัตกรรม การทำงาน    พร้อมทำบล็อกเวป ให้พนักงาน ศึกษา siwarathometouw.blogspot.com   ส่งเสริมการทำงานของทีมงาน
๔-ส่งเสริมให้พนักงานค้นหาลูกค้า ในกลุ่ม ราชการ มีสิทธิ์ซื้อบ้าน สิวารัตน์ จัดทำบล็อกเวปให้เป็นฐานข้อมูลเรื่องนี้ในบล็กเวป tajeenman.blogspot.com   เพื่อ ให้พนักงานขาย ได้ฝึกติดตามและค้นหากลุ่มลูกค้าข้าราชการ ทั้งในจังหวัดและทั่วประเทศ ที่มีตวามต้องการ ที่อยู่อาศัย มีประมาณ 200,000.  คน และ กำลังใช้งานจริงในปัจจุบัน ของ ทีมสิวารัตน์ ๑๐
  -ส่งเสริมการบริการและวิธีการ การขาย โดย ขอไลน จาก สมาชิคลูกค้าในปีนี้ ที่เข้าชมโครงการมากถึง 700 ราย ลูกค้าและเผยแพร่ข้อมูล ทางไลน์  โดยตั้งกลุ่มที่โครงการสิวารัตน์ ๑๐ เป็นโครงการนำร่อง และตั้งระดับความพร้อม ของพนักงานขายถ้ามีลูกค้าเข้าชม พร้อมทั้งเทคนิคและวิธีการต้อนรับ ถ้าเป็นจริง

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

รถลาก ประวัติ

รถลาก (Rickshaw) หรือคนไทยเรียกว่า รถเจ๊ก เป็นยานพาหนะที่ใช้คนลาก ตัวรถมีลักษณะเป็นเกวียนที่มีสองล้อ รถลากเป็นที่นิยมในเมืองตางๆในเอเชีย อาทิ โยโกฮามา (ญี่ปุ่น),ปักกิ่ง (จีน),เซี่ยงไฮ้ (จีน),ร่างกุ้ง (พม่า) กัลกัตตา มุมไบหรือบอมเบย์ (อินเดีย) และ บางกอก (ไทย)

ประวัติ[แก้]

ภาพ Les Deux Carrosses โดย Claude Gillot ปี ค.ศ. 1707
จากภาพเขียน "Les deux carrosses" (ปี ค.ศ. 1707)โดย Claude Gillot แสดงให้เห็นว่ามีการใช้รถลากมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 17 บนท้องถนนปารีส รถลากเริ่มมีให้เห็นในญี่ปุ่นในปี 1868 ในสมัยเมจิ โดยได้รับความนิยมในเวลาต่อมา เพราะสามารถสัญจรได้เร็วกว่าเกี้ยว (และการใช้แรงงานคนราคาถูกกว่าใช้ม้า) ส่วนคนที่เริ่มประดิษฐ์รถลาก เท่าที่มีการบันทึกได้ คือช่างเหล็กชาวอเมริกันชื่อ Albert Tolman ที่ถูกพูดว่าได้ประดิษฐ์รถลากในช่วงปี 1848 ใน Worcester รัฐ Massachusetts ไว้ให้มิชชันนารี
อีกคนที่อ้างถึงคือ Jonathan Scobie (หรือ W. Goble)มิชชันนารีชาวอเมริกันในญี่ปุ่น ประดิษฐ์รถลากในปี 1869 ให้ภรรยาเดินทางในถนนในโยโกฮามา ในญี่ปุ่นมักกล่าวว่าคนประดิษฐ์คือ อิซุมิ โยสุเกะ, ซูซุกิ โตคูจิโร่ , และ ทากายาม่า โคสุเกะ ที่ประดิษฐ์ในปี 1868 โดยในปี 1870 ผู้ปกครองโตเกียวได้อนุญาตให้ทั้ง 3 คน สร้างและขาย โดยคนที่ซื้อรถลากจะต้องได้ใบอนุญาตจากหนึ่งในสามของผู้ผลิต
รถลากมีในอินเดียในปี 1880 ส่วนในจีนมีการใช้รถลากเพื่อขนส่งสินค้า ในปี 1914 จีนจึงอนุญาตให้ใช้รถลากในการสัญจรคน

เรือเก่า สำเภาทอง คนรักเรือ

เรือไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือไทย คือเรือในประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

มีจารึกในภาษาจาม พบในเมืองนาตรังประเทศเวียดนาม ราวศตวรรษที่ 12 เป็นหลักฐานกล่าวถึงชนชาติสยามซึ่งตั้งบ้านเรื่อนอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอาจรู้จักการใช้เรือเป็นชาติแรก แต่หลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเดินเรือของคนไทยปรากฏอยู่บนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1822-1843) แห่งกรุงสุโขทัย หลักที่ 4 ด้านที่ 4 กล่าวว่าการเดินทางด้วยเรือและถนน แสดงว่า มีการสร้างเรือมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว สันนิษฐานว่า ในสมัยนั้นมีการต่อเรือจากไม้ซุงทั้งต้น รวมไปถึงเรือที่ใช้ไม้กระดานต่อกันแล้วชันยา เดินทางไปมาหาสู่กันอย่างแพร่หลาย
อีกหลักฐานที่พบในประเทศไทยมีปรากฏอยู่หลายแห่งเช่น การพบภาพเขียนสีโบราณรูปขบวนเรือที่ถ้ำนาค ในอ่าวพังงา เป็นภาพขบวนเรือเขียนด้วยสีแดงบนผนังถ้ำ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพเรือขุดรุ่นแรกๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม โดยที่หัวเรือและท้ายเรือเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว หรือที่ถ้ำไวกิ้ง เกาะพีพีเล จ.กระบี่ ก็พบหลักฐานภาพเขียนสีเป็นรูปเรืออยู่บนผนังถ้ำ มีอยู่ประมาณ 70 ภาพ เป็นเรือรูปแบบต่างๆ เช่นเรือสำเภา เรือโป๊ะจ้าย เรือใบสามเสา เรือฉลอมท้ายญวน เรือกำปั่นใบ เรือลำบั้นแปลง เรือใบสองเสาที่ใช้กรรเชียง เรือใบอาหรับ เรือฉลอม รวมถึงเรือใบที่ใช้กังหันไอน้ำและเรือกลไฟ โดยภาพเรือสำเภาจีนสามเสาและเรือใบแบบอาหรับเป็นภาพวาดรูปเรือที่ใช้ใบที่เก่าที่สุด สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20
หลักฐานจารึก จดหมายเหตุจีน ตำนานและพงศาวดารระบุว่า พุทธศตวรรษที่ 18 มีบันทึกการรวมเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างเครือข่ายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมออกไปสู่ภายนอก กระทั่งมีการสถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 แล้วแผ่อำนาจรวบรวมแว่นแคว้นเข้าเป็นอาณาจักร ช่วงนั้นการติดต่อค้าขายระหว่างจีนและไทยเราใช้ “เรือสำเภา” เป็นหลัก และในสมัยอยุธยาตอนต้นเรือสำเภาจีนก็มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมประสานอารยธรรม จากหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับชาติตะวันตก ได้มีโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาในเมืองมะละกา ได้ส่ง “ดูอาร์เต เฟอร์นาน-เดส” เป็นผู้แทนเดินทางมาเชื่อมสัมพันธไมตรีกับราชสำนักโดยใช้พาหนะในการเดินทางคือ “เรือสำเภาจีน”
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยอยุธยา ทำให้เกิดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เช่นเรือสำเภาและเรือกำปั่น มีอู่ต่อเรือหลวงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในขณะที้ประชาชนต่างอาศัยเรือเล็กเรือน้อยสัญจรไปมาหนาตา ถึงขนาดที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้
“ในแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยเรือ จะไปไหนต่อไหนไหนก็เจอแต่เรือแน่นขนัดไปหมด จนไม่สามารถแหวกทางผ่านกันได้หากไม่ชำนาญ ทั้งที่เรือแน่นขนัดจอแจเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างยิ่ง” และจากบันทึกของชาวเปอร์เซีย เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า ชะห์รินาว ซึ่งแปลว่า เมืองเรือ หรือ นาวานคร[1]
ยุคทองของการเดินทางด้วยเรือรุ่งเรืองถึงขีดสุดอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะแม่น้ำลำคลองไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าและคมนาคม แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการเพาะปลูก การอุปโภค บริโภค และอื่น ๆ ในสมัยนี้จึงมีการขุดคลองเป็นจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยเรือ

ประเภทของเรือไทย[แก้]

  • แบ่งตามฐานะ คือเรือหลวงกับเรือราษฏร
เรือหลวง คือเรือที่ราษฎรไม่มีสิทธิ์นำมาใช้ ถือเป็นของสูง เช่น เรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรือพระที่นั่งกิ่ง เรือพระที่นั่งศรี เป็นต้น ส่วนเรือราษฎรได้แก่เรือทั่วๆ ไปที่ใช้ตามแม่น้ำลำคลอง
ซึ่งยังอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก คือเรือแม่น้ำพวกหนึ่ง เรือทะเลพวกหนึ่ง เรือแม่น้ำคือเรือที่ใช้ไปมาในแม่น้ำลำคลอง เป็นเรือขุดหรือเรือต่อ ได้แก่ เรือมาด เรือหมู เรือพายม้า เรือม่วง เรือสำปั้น เรืออีแปะ เรืออีโปง เรือบด เรือป๊าบ เรือชะล่า เรือเข็ม เรือสำปันนี เรือเป็ด เรือผีหลอก เรือเอี้ยมจุ๊น เรือข้างกระดาน เรือกระแชง เรือยาว เรือมังกุ เป็นต้น ส่วนเรือทะเลคือเรือที่ใช้ไปมาในทะเลและเลียบชายฝั่ง เป็นชนิดเรือต่อ ได้แก่ เรือฉลอม เรือฉลอมท้ายญวน เรือเป็ดทะเล เรือกุแหละ หรือเรือกุไหล่ เรือโล้ เรือสำเภา เรือปู เป็นต้น
  • แบ่งโดยกำลังที่ใช้แล่น เช่น เรือพาย เรือกรรเชียง เรือแจว เรือโล้ เรือถ่อ เรือใบ

ไม้ที่ใช้ทำเรือ[แก้]

ไม้ที่ใช้ทำเรือมีทั้งไม้สัก ไม้ตะเคียน ไม้เคี่ยมหรือไม้ประดู่ซึ่งมีคุณภาพดีเหมาะในการต่อและขุดทำเป็นเรือ ไม้ตะเคียนจัดเป็นไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นเรือ มีทั้งตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนหนู ตะเคียนหยก ตะเคียนไพร ฯลฯ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งลอยน้ำได้ดี ไม่ผุง่ายแม้จะแช่อยู่ในน้ำนานๆ เรือที่นิยมทำจากไม้ชนิดนี้ได้แก่ เรือมาด เรือหมู เรือสำเภา เรือสำเภาและเรือยาวที่ใช้ในการแข่งขัน
สำหรับไม้สักนั้นนิยมใช้ทำเรือสำบั้น สำเภา เรือชะล่า เรือกระแชง เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง ไม่หดแตกง่าย ส่วนไม้ประดู่มีเนื้อเหนียวเป็นพิเศษนิยมใช้ทำเรือกระแชง เรือเมล์ เรือแท็กซี่ ส่วนไม้เคี่ยมมีคุณสมบัติคล้ายไม้สักแต่เนื้อไม้แข็งกว่า มีความยืดหยุ่นและน้ำหนักมากกว่าซึ่งหายากและมีถิ่นกำเนินทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

ประเพณีและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเรือ[แก้]

ปัจจุบันแม้เรือจะลดความสำคัญ แต่ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับเรือยังคงมีให้เห็น อาทิ การเล่นเพลงเรือ กฐินทางน้ำ ประเพณีชักพระภาคใต้ ประเพณีตักบาตรร้อยพระ จ.ปทุมธานี ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีเกี่ยวกับการทอดผ้าป่าทางเรือ มีทั้งของหลวงและของราษฎร แตกต่างกันตรงขนาดและเครื่องไทยทาน และอีกหลากหลายประเพณีตามท้องถิ่น
ความเชื่อเกี่ยวกับเรือ เช่น ห้ามเหยียบหัวเรือเพราะแม่ย่านางเรือประทับตรงนั้น เป็นกุศโลบายที่ต้องการให้ใช้เรืออย่างระมัดระวัง ถนอมเพราะเรือมีราคาแพง ห้ามพายเรือยังไม่แก้โซ่ จะทำให้เรือล่ม ทั้งนี้เพราะหากกระชากเรือจากโซ่แทนการแก้ออกดีๆ จะทำให้เรือชำรุดเกิดอุบัติเหตุได้ ห้ามเหยียบเรือสองแคม ความหมายตรงๆ โดยไม่เล่นสำนวนคือการเหยียบเรือ 2 แคม จะทำให้เรือล่มหรือพลิกคว่ำเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เป็น