วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

คนรักเกยีวน ของเก่าที่ถูกลืม







"ประวัติเกวียนไทย"
เกวียน  เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่มีล้อเลื่อน อายุเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน มี 2 ล้อ เคลื่อนที่ไปโดยใช้วัวหรือควายเทียมลากไป โดยปกติใช้ 2 ตัว ตามตำนานกล่าวว่า มนุษย์รู้จักใช้ล้อมาก่อน ยุคประวัติศาสตร์ ส่วนเกวียนที่เทียมสัตว์และรถศึกมีปรากฏแน่ชัดในสมัยกรีกและโรมัน

          ในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นของไทย มีวรรณคดี พงศาวดารหลายเรื่องที่กล่าวถึงเกวียน เช่นใน เรื่องพระร่วงส่งส่วยน้ำ คนไทยได้ใช้เกวียนบรรทุกส่วยไปบรรณาการขอมผู้มีอำนาจ

          ในสมัยหลัง ๆ สมุหเทศาภิบาลใช้   "เกวียนด่าน"   เดินทางจากอุบลราชธานีมายังกรุงเทพฯ   โดยนั่ง เกวียนคันหนึ่งมาแล้วเปลี่ยนนั่งคันใหม่ต่อกันเป็นทอด ๆ

          ในสมัยที่ยังไม่มีรถยนต์ใช้ในการไปตรวจราชการท้องที่ของข้าราชการ   ได้ใช้ส่วนกลางของเกวียน เป็นที่นอน ใช้ส่วนหน้าเป็นโต๊ะเขียนหนังสือ ใช้ใต้ถุนเกวียนเป็นที่หุงหาอาหาร

          เกวียนแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เกวียนเทียมวัวและเทียมควาย เกวียนเทียมวัวจะเตี้ยกว่า ทางภาคใต้จะนิยม ใช้ควายเทียมเกวียน ส่วนภาคเหนือนิยมใช้วัวเทียม

          ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ตรากฎข้อบังคับเพื่อใช้ควบคุมการใช้เกวียนนี้ขึ้น จึงนับว่าเป็นกฎหมายฉบับ แรกว่าด้วยการใช้เกวียน แต่มีผลบังคับเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 6 ได้ทรงดำริว่าขนาดของล้อ เกวียนกว้างเท่ากันทั่วราชอาณาจักร

          พ.ศ.2460 กำหนดให้ล้อเลื่อนทุกชนิดในเขตพระนครต้องจดทะเบียนรับใบอนุญาตขับขี่ทุก ๆ ปี ครั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีประกาศพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2478 กำหนดให้เก็บค่าจดทะเบียนเกวียน เล่มละ 1 บาท นับตั้งแต่เริ่มใช้จนชั่วอายุเกวียน และผ่อนผันให้ผู้ ขับขี่เกวียนไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่และนับตั้งแต่นั้นมาก็มิได้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเกวียนอีกเลย

ล้อ(เกวียน) น่าจะอยู่กับภูมิภาคนี้ อย่างน้อยพันก่วาปีในกรุงราชคฤห์ มีร่องรอย ล้อเกวียน บาดลึกลง ในเนื้อหิน
พุทธศาสนา ที่เข้ามา น่าจะเอาความรู้ต่างๆมาด้วยสภาพ ภูมิประเทศ ล้านนา เป็น ที่ราบในหุบ เขา
เกวียน แต่ละ แห่ง พัฒนาต่างกัน เชียงราย จะเบา เล็กกว่าและเป็นเทคนิค ของช่างเกวียน แต่ละ สกุลด้วย

.....ครั้งที่ดินแดนล้านนายังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นาๆพันธุ์ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล อาชีพ ของชาวล้านนาในครั้งกระนั้นคืออาชีพเกษตรกรรม การขนผลผลิตจากเรือกสวนไร่นามาเก็บไว้ยังบ้านนั้นชาวล้านนาสมัยกึ่งศตวรรษ ใช้ยานพาหนะชนิดหนึ่งเรียกว่า " ล้องัว " ล้องัว ของชาวล้านนามีลักณะเตี้ย กว้าง แข็งแรง ไม่บอบบาง อ่อนช้อยเหมือนเกวียนแบบภาคกลาง และอีสาน ส่วนประกอบของ ล้องัวมีดังนี้
" แว่นล้อ" (กงเกวียน) มี " ดุมล้อ" ซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง คือไม้ประดู่กลึงให้สวยงาม เป็นจุดศูนย์กลางแผ่ด้วย ซี่ล้อ (กำเกวียน) ทำจากไม้สักจำนวน 16 ซี่ แว่นล้อ นี้จะมี " ขวักล้อ" (ฝักมะขาม) ซึ่งทำจากไม้สักเป็นรูปโค้ง เรียงต่อกันเป็นวงกลม จำนวน 8 ท่อน ยึดติดกันด้วยเดือยแล้วรัดให้แน่นด้วยเหล็กแผ่นบางรูปวงกลมขนาดพอดีกับแว่น แว่นล้อ หนาประมาณ 1 ส่วน 2 เซนติเมตร แว่นล้อสองวงยึดติดกันด้วย " แก๋นล้อ " (เพลา) ซึ่งเป็นเหล็กยาว ตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เศษ 1 ส่วน 2 นิ้วมี " แซ่ " (สลัก,ลิ่ม)ฝังติดสองหัวของ แก๋นล้อ ที่โผล่มาจาก ดุมล้อ มีคำพังเพยแบบล้านนาบทหนึ่งกล่าวเปรียบเปรยไว้อย่างน่าฟังเกียวกับ แก๋นล้อ ว่า " จะซื้อล้อหื้อก้มผ่อแก๋น จะเลือกผู้แทนหื้อแหงนผ่อหน้า " 
แก๋นล้อ นี้จะสอดเข้าไปใต้ " กะหลก " (กะโปก) ที่ทำจากไม้เนื้อแข็งคือ ไม้ชิงชัน เซาะร่องยาวเพื่อเก็บ แก๋นล้อ ให้มั่นคง แก๋นล้อ กับ กะหลก จะยึดติดกันอย่างมั่นคงด้วยเหล็ก สกรู น๊อต ที่เจาะผ่าน แก๋นล้อ ไปทะลุ กะหลก
" กันจั๊ก " (ทูบ) ทำจากไม้ชิงชัน มีลักษณะคล้ายตัว V วางพาด กะหลก และมี " กุ๊มจ๊าง " แปลว่าแท่นช้าง ซึ่งทำจากไม้ชิงชันแช่นกัน มีความยาวกว่า กะหลก ข้างละ 1 ฟุต ทับ กันจั๊ก อีกชั้นหนึ่งระหว่าง กะหลก กับ กุ๊มจ๊าง ก็จะมีเหล็ก สกรู น๊อต ยึดติดกันให้มั่นคงเช่นกัน ส่วนหัวของ กันจั๊ก จะมี " กันคอ " (แอก) วางพาดขวางอยู่ยึดติดกันด้วยเหล็ก สกรู น๊อต มัดด้วยเชือกที่ฟั่นจากหนังวัว ควาย อีกรอบหนึ่ง กันคอ จะเจาะรูสองรูที่ปลายไม้ทั้งสอง เพื่อใช้ไม้ " หลักคอ " (ลูกแอก)เสียบส่วนคอของวัว จะสอดอยู่ระหว่าง หลักคอ โดยมี " สายอก " (ทามรัดคอ)ซึ่งทำจากเชือกถักคล้อง หลักคอ อันหนึ่ง อ้อมผ่านใต้คอวัว แล้วมาคล้อง หลักคอ อีกอันหนึ่ง เป็นการตรึงคอวัวให้อยู่กับ กันคอ อย่างมั่นคง ช่วงก่อนจะถึง " เฮือนล้อ " (โครงเกวียน) จะมีกล่องไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เรียกว่า " ตู้ล้อ " ติดบานพับเปิด ปิดได้ ประโยชน์ใช้สอยคือเป็นที่เก็บข้าวของจิปาถะในการเดินทางเช่น ห่อข้าว หมาก เมี่ยง บุหรี่ เป็นต้น
" เฮือนล้อ " (โครงเกวียน) คือ โครงไม้สี่เหลี่ยมมี " ไม้ซี่เฮือนล้อ "(ไม้เสากง) ติดห่างๆ กัน เพื่อให้โปร่ง จะมีส่วนที่ยาวกว่าแล้วปาดปลายเป็นรูปใบดาบที่เรียกว่า " เดี่ยวซี่ " เฮือนล้อ จะเป็นส่วนที่ได้รับการตกแต่งให้สวยงาม มี " ตาดหน้า" (ไม้กั้นด้านหน้า) ทำจากแผ่นไม้ขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประดับลวดลายให้ลึกลงไป ด้วยสิ่วเป็นลายเส้น เป็นศิลปะแบบพื้นบ้านล้านนา
ลวดลายที่นิยมทำกันมีหลายแบบ เช่น ลายหม้อน้ำมีไม้เลื้อยตามคติพุทธศานาดั้งเดิม เรียกว่า " ปูรณฆฎ หรือ ปูรณกลศ " ซึ่งแสดงถึงสัญลักษณ์ชีวิตและการสร้างสรรค์ลวดลายนาคประกอบ อกไม้ โดยทำเป็นรูปนาค 2 ตัวเลื้อยลงด้านล่างหันหน้าเข้าหากันนิยมติดประจกเงาวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ติดอยู่ 2 วง ด้านหลังของ เฮือนล้อ จะมี " ตาดหลัง " หรือ ตาดจ๊าง (ไม้กั้นด้านหลัง) ตรงกลางทำเป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักรูปนูนต่ำรูปช้างซึ่งยุคแรกจะทำเป็นรูปช้างด้านข้างหนึ่งตัวกำลังเดินหันหน้าเข้าหากัน ใช้งวงชูพานคล้ายรัฐธรรมนูญ
ระหว่างส่วนปลายของ กันจั๊ก และ ตาดหลัง , ตาดจ๊าง จะมีแผ่นไม้ที่สวยงามอีกแผ่นหนึ่งคั่นอยู่ เรียกว่า " โก่งกิ้ว " เป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ส่วนล่างของ โก่งกิ้ว จะปาดเป็นรูปโค้งคล้ายสาหร่ายรวงผิ้ง ลวดลายของ โก่งกิ๊ว ใช้สิ่ว ตอกเป็นลายเส้น รูปนาคสองตัว เลื้อยหันหลังเกี่ยวหางกันมีลวดลายประกอบ เหนือหัวของนาคทั้งสองตัวจะติดกระจกเงารูปวงกลมเช่นเดียวกับ ตาดหน้า
ลวดลายทั้งหมดคือ " ตาดหน้า " ตาดหลังหรือ " ตาดจ๊าง" และ โก่งกิ๊ว ระบายด้วยสีน้ำมัน สีฉูดฉาดด้วยฝีมือช่างพื้นบ้าน ดูซื่อๆ แต่มีความงามแอบแฝงอยู่.......
...........ปัจจุบัน " ล้องัว " ได้สูญหายไปจากวิถีชีวิตของชาวล้านนาไปแล้ว เพราะล้านนาวันนี้ ไม่ใช่ดินแดนเขียวขจีไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่เป็นดินแดนที่กำลังก้าวสู่เขตอุตสาหกรรม ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเร่งรีบ เน้นปริมาณ " ล้องัว" จึงถูกกว้านซื้อเข้าสู่ร้านขายของเก่าเพื่อให้เจ้าของโรงแรม ร้านอาหาร ซื้อไปประดับบริเวรสนามหญ้า หรือไม่ก็ถอดส่วนประกอบ " ล้องัว " ออกเป็นชิ้นๆ " แว่นล้อ " ถูกนำไปทำเป็นรั้วของร้านประเภทแอนทีค เพราะดูแล้วเขาว่า มันเป็นศิลป์ดี....



เกวียนเป็นพาหนะที่สำคัญที่สุดในการเดินทางและบรรทุกสิ่งของตั้งแต่สมัยโบราณ  หรือแม้กระทั่งสมัยปัจจุบัน  เกวียนก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางของชาวชนบทอันเป็นท้องถิ่นช่วงการคมนาคมยังหาความสะดวกได้ยาก  ทั้งนี้  เพราะเกวียนสามารถใช้บรรทุกหรือเป็นพาหนะเดินทางได้แม้แต่ในผิวถนนที่ขรุขระหรือ  ถนนที่เต็มไปด้วยโคลนตม  ซึ่งรถยนต์ไม่สามารถจะผ่านไปได้
วิธีการผลิต  การทำเกวียนเป็นศิลปะทางช่างที่ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญสูง  ต้องอาศัยทักษะแห่งการฝึกฝนมาก  ประวัติและวิธีการผลิต  มีความเป็นมาและวิธีการอย่างใดนั้น  ไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่แน่นอน  แต่อาศัยข้อมูลจากผู้สูงอายุและผู้มีประสบการณ์  ตลอดจนทักษะในการผลิตหลายท่าน  จึงสามารถนำข้อมูลต่าง    มากล่าวในที่นี่ได้
ลักษณะการใช้งาน  เกวียนเป็นพาหนะที่มีหลักการทำงาน  คือ  อาศัยกำลังลากจากโคนหรือกระบือ  สามารถเลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างสะดวก  โดยล้อเลื่อนทั้งสองข้าง  หน้าที่และอุปกรณ์ที่สำคัญ  มีดังต่อไปนี้
                1.  หอระพี  ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  มีหน้าที่รับน้ำหนักการบรรทุกมากที่สุด  ที่ปลายทั้งสองด้านเจาะรูเพื่อนำ  ไลเกวียน” หรือ  คยเกวียน”  หรือ  โพล่งของเกวียนต่อไป
                2.  ไม้โทก  มี  2  อัน  คือ  ไม้โทกด้านซ้ายและไม้โทกด้านขวา  เป็นส่วนที่ยาวที่สุด  ทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ  4-5 เมตร
                3.  ไม้แพด  มี  2  อัน  คือ  ไม้แพดด้านซ้ายและไม้แพดด้านขวา  เป็นส่วนที่ยาวที่สุด  ทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ  4-5 เมตร
                4.  ไม้ขวางทาง  มี  2  อัน  คือ  ไม้ขวางทางด้านหน้าและไม้ขวางทางด้านหลัง  ไม้ขวางทางด้านหน้าอยู่ต่อจาก  ซานเกวียน”  ส่วนไม้ขวางทางด้านหลังเป็นส่วนที่อยู่หลังสุดของเกวียนเมื่อนำไม้แพดและไม้ขวางทางต่อเข้าด้วยกันจะเป็นส่วนที่ทำให้เกวียนมีรูปลักษณะ  เป็นสี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ส่วนหลังของผู้ขับและโคเทียม
                5.  ไม้หัวเต่า  มี  2  อัน  คือ  ไม้หัวเต่าหน้าและไม้หัวเต่าหลัง  เป็นส่วนที่อยู่เหนือไม้ขวางทางทั้งหน้า  หลัง  ความยาวขึ้นอยู่กับระยะห่างของไม้โทกทั้งซ้าย  -  ขวา  แต่มีขนาดยาวกว่าด้านละ  10  ซม.  เป็นรูป              คล้ายคมแฝกที่ปลายทั้งสองข้างกลึงเป็นรูปคล้ายดอกบ้วตูม
                6.  ดุม  มี  2  ข้าง   คือ  ดุมข้างซ้าย  -  ขวา  ความยาวประมาณ  50-70%  ซม.  หรือเท่ากับระยะห่างระหว่างไม้โทกกับไม้แพดทั้งซ้าย - ขวา  ตรงจุดกึ่งกลางของพื้นที่ตัดจะเจาะรูจนทะลุถึงกันได้  เพื่อไว้สำหรับใส่เพลาหรือไลเกวียนหรือคยเกวียน ประมาณ  1-1
                7.  ไลเกวียนหรือคยเกวียนหรือเพลาเกวียน  เป็นไม้ที่กลึงจนกลมและมีผิดละเอียดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า  ของรูที่เจาะดุมเล็กน้อย  ไลเกวียนเป็นไม้ที่สอดผ่านดุมไปยังไม้โทกและไม้แพด  ซึ่งเจาะรูกลม  เท่ากับรูดุม  ลึกประมาณ  1-2”  ไลเกวียนมีจำนวน  2  อัน  เท่ากับจำนวนดุม   การประกอบทำลักษณะเดียวกันทั้งข้างซ้าย  ขวา
                8.  ตีนเกวียนหรือล้อเกวียนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  มี  4  กีบต่อกันเข้าเป็นรูปวงกลม  มี  กำเกวียน”  ซึ่งทำหน้าที่เหมือนซี่เกวียนเชื่อมต่อระหว่างตีนเกวียนกับดุมเกวียน
                9.  กำเกวียน  ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  ความยาวมากกว่าระยะทางระหว่างตีนเกวียนกับดุมเกวียนเล็กน้อย เป็นไม้รูปสี่เหลี่ยมมีจำนวนข้างละ  16  อัน  รวม  32  อัน
                10.  ชานเกวียน  เป็นพื้นไม้กระดานอยู่ส่วนแหลมของไม้โทก  คืออยู่ต่อจากไม้หัวเต่าไปส่วนหลัง  ความยาวประมาณ  1 เมตร
                11.  ไม้คั่นเกวียน  มี  3  อัน  ไม้คั่นหน้า, ไม้คั่นกลางและไม้คั่นหลังมีความยาวเท่ากับระยะห่างระหว่างไม้โทกทั้งซ้าย ขวา  มีหน้าที่คล้ายตงบ้าน  คือรองรับน้ำหนักบรรทุกเหมือนตทอระนี                 12.  แอก  เป็นขนาดยาวเท่ากับความยาวของไม้ขวางทาง  ตรงจุดกึ่งกลางต้นบันทำเป็นรูปคล้าย  หนอกวัว”  ด้านล่างเจาะรู  1-1”  ไว้สำหรับใส่ไม้คำหัว                13.  ไม้ค้ำหัว  เป็นไม้ความยาวประมาณ  20  เซนติเมตร  1-1”  ส่วนล่างทำเป็นรูปตัว  วาย  (Y)  เพื่อคาบกับ  โม๊ะ
                14.  โม๊ะ  เป็นไม้ลักษณะคล้ายส่วนบนด้านหน้ารของอานม้า  ขนาดเท่ากับรอบประกบด้านหน้าของไม้โทก  โม๊ะมีไว้เพื่อรองรับน้ำหนักของเอก  โดยผ่านทางไม้ค้ำหัว
 3.  อุปกรณ์การผลิต
                การผลิตเกวียนเป็นงานที่ต้องอาศัยกำลังคนไม่น้อยกว่า  3  คนขึ้นไปร่วมกันทำ  แต่ละคนต้องมีความรู้และทักษะดี รู้จักขั้นตอนก่อนหลัง  รู้จักใช้อุปกรณ์ต่าง    เท่าที่จำเป็นในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญในการผลิคคือ
                3.1  ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง  เช่น  ไม้เต็ง  ไม้ประดู่  เป็นต้น  โดยเฉพาะไม้โทกตินเกวียน  และกำเกวียน  จะใช้ไม้อย่างอื่นมิได้
3.2  เหล็กเหลี่ยมหรือเหล็กกลึง  เป็นอุปกรณ์การกลึงในสมัยโบราณที่มีคุณภาพของงานดียิ่ง  ลักษณะเป็นเหล็กซึ่งตีให้แบนใส่ด้ามขนาดพอเหมาะ
3.3  สิ่วเจาะ  สำหรับเจาะรู  โดยพูดไปแล้วการทำเกวียนจะไม่ใช่เหล็กตะปูเลย  แต่จะอาศัยกรรมวิธีอื่นที่ทำให้เกวียนหนาแน่น  ซึ่งจะกล่าวได้ต่อไปนี้
3.4  วัสดุอุปกรณ์ประกอบอื่น    หวาย  เชือก  น้ำมันยาง  ฯลฯ

 4.  ขั้นตอนและวิธีการผลิต
                ขั้นตอนในการผลิตแต่ละครั้ง  ช่างซึ่งมีความชำนาญไม่เหมือนกันจะผลิตด้วยขั้นตอน  ที่แตกต่างกัน  ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนการผลิตของนายมอญ  สุขรี  อายุ  72  ปี  มีประสบการณ์มาประมาณ  50  ปี  ซึ่งขั้นตอนในการผลิตตามลำดับก่อนหลังดังนี้
                4.1  ไลไม้โทก  คือ  ขั้นตอนแรกในการเริ่มทำเกวียน  การโกโมกหรือไลไม้โทก  หมายถึง  การตัดรูปทรงของไม้โทกให้ส่วนด้านหน้าประกอบกัน  และช่วงจากจุด  ไม้คั่นหน้า”  ไปด้านหลังขยายออก  กรรมวิธีนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อไม้ที่นำมาทำนั้น  ต้องมีเนื้อไม้ที่ดิบอยู่และต้องทำให้การขยายออกหรือแคบเข้าด้วยความใจเย็น  จะใจร้อนไม่ได้  เพราะจะทำให้ไม้แตกหรือหักได้
                4.2  เสี่ยนดุม  คือการกลึงดุมให้มีรูปทรงคล้าย  เต้าแคน”  วิธีการเสียนหรือกลึงมีกรรมวิธีคือเจาะรูตรงจุดกึ่งกลางของท่อนไม้  ซึ่งตกแต่งรูปทรงให้มีรูปทรงใกล้เคียงกับดุมที่ต้องการด้วยขวาน  การเจาะโดยทั่วไปจะใช้สว่านมือหรือที่ช่างเรียกว่า สว่าน”  (คย)  หมู”  เจาะจนทะลุได้ถึงกันได้  เมื่อเจาะรูเสร็จแล้วใช้เชือกมัดเกี้ยวท่อนดุม  แล้วอีกปลายด้านหนึ่งของเชือกไปมัดเกี้ยวกับไม้ซึ่งตั้งอยู่บนหลัก  2  หลัก  (ลักษณะเหมือนรูปตัว  H)  โดยอุปกรณ์ส่วนนี้เมื่อหมุนแกนไม้ด้านที่อยู่บนหลักแล้วจะทำให้ท่อนดุมที่ต้องการ  ใช้วิธีการนี้กับท่อนดุมทั้งซ้ายและขวาเมื่อกลึงเสร็จจะต้องเจาะรู  เข้ากำ”  รอบตัวดุม  16  รู  โดยใช้สิ่วเจาะรูสำหรับ  เข้ากำ”  นี้ต้องให้มีขนาดเดียวกันให้มากที่สุด
                4.3  ทำไม้กำเกวียน  คือ  การทำไม้รูปสี่เหลี่ยมขนาดส่วนที่จะตอกเข้าดุมเท่ากับรูที่จะไว้ส่วนปลายอีกด้านทำให้โตกว่าเล็กน้อย  เมื่อนำมาตอกเข้ากับดุมนั้นก่อนตอกเข้าควรใส่  เข้ากำ”  นี้จะต้องให้มีขนาดเดียวกันให้มากที่สุด
                4.4  เข้าตีน  คือ  กรรมวิธีการนำเอาไม้เนื้อแข็งมาทำรูปส่วนโค้งเหมือนฝักมะขาม  4  ท่อน  หรือที่ช่างเรียกว่ากีบ  มาต่อกันเข้าเป็นรูปวงกลม  โดยอาศัยรอยบากตัวผู้และตัวเมีย  (ดูรูป)  แล้วตกแต่งให้เป็นรูปวงกลม  เมื่อได้รูปวงกลมแล้วทำดุมที่เข้ากำไว้แล้วมาวางโดยให้ดุมอยู่จุดศูนย์กลางวงกลมใช้ดินสอขีดตำแหน่งของกำด้านที่จะเข้ากับตีน  แล้วถอดคืนแต่ละท่อนออกมาเจาะรูให้มีขนาดเท่ากับขนาดกำในแต่ละจุดทั้ง  16  กำ  เมื่อเจาะเสร็จแล้วก็นำแต่ละท่อนมาประกอบเข้าตามตำแหน่งเดิมทาน้ำยางตรงรอยต่อจะจุด  เจ้ากำ”  จะทำให้มีความหนาแน่นมากขึ้น  จะได้ตีนเกวียนหรือลังเกวียนตามต้องการ  (ทำด้านที่เหลืออีกด้านหนึ่งด้วยกรรมวิธีเดียวกัน)
                4.5  นำไม้โทกที่  ไลโทก”  ได้ที่แล้วมารเจาะด้านข้าง  (ใน)  ตรงจุดกึ่งกลาง  1  ที่ด้านที่อยู่ตรงห่างจากปลายด้านหลัง 10  เซนติเมตร  1  จุด   และจุดกึงกลางระหว่างจุดที่อยู่หน้ากับจุดอีก  1  ชุด  โดยเจาะด้านตรงข้ามที่เหลืออีกตามจุดและระยะเดียวกัน  เพื่อใส่ไม้คั่นหน้า  กลาง  หลัง  ตามลำดับ
                4.6  นำไม้มาทำเป็นสี่เหลี่ยม  ขนาดเท่ากับรูที่เจาะตามข้อ  4.5  ความยาวเท่ากับระยะห่างระหว่างไม้โทกทั้งซ้าย -  ขวาเล็กน้อย  เมื่อประกอบกันเข้าจะมีลักษณะคล้ายบันได
                4.7  นำไม้ที่เตรียมไว้มาขวางทาง  โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไม้โทก  ปลายทั้งสองข้างเล็กกว่าส่วนกลางเล็กน้อย  ความยาวเท่ากับระยะห่างของไม้โทกรวมกันความยาวของระยะระหว่างไม้โทกกับไม้แพดทั้งสองข้างรวมกัน  ปลายทั้งสองข้างกลึงหรือทำให้เป็นวงกลมขนาด  1  นิ้ว  ตรงจุดที่ตรงกับระยะห่างของไม้โทกเจาะรูเป็นสี่เหลี่ยม  (ทะลุถึงไม้โทกด้วย)  ไว้สำหรับตอกลิ่มบังคับ
                4.8  นำไม้ที่เตรียมไว้  มาทำไม้แพด  ลักษณะตรงปลายทั้งสองข้างเล็กและเรียกว่าส่วนกลางตรงจุดกึ่งกลางเจาะรู  1-1” ไว้สำหรับใส่ไลเกวียนหรือเพลาเกวียน  ที่ระยะห่างจากปลายทั้งสองข้างเข้าด้านใน  5  ซ.ม.  เจาะรู  เท่ากับขนาดของส่วนปลายไม้ขวางทาง  (ส่วนด้านที่เหลือก็มีวิธีการผลิตเช่นเดียวกัน)
                4.9  นำไม้ที่มีขนาดโตเท่ากับไม้ที่ทำดุม  ขนาดความยาวเท่ากับระยะห่างของไม้โทก  (ด้านนอก)  มาทำให้เป็นรูปวงรี เจาะรูขนาด  1”  ไว้สำหรับใส่เกวียนหรือเพลาเกวียน  ที่ระยะห่างจากปลายทั้งสองข้างเข้าด้านใน   5  ซม.  เจาะรู  เท่ากับขนาดของส่วนปลายไม้ขวางทาง  (ส่วนด้านที่เหลือก็มีวิธีการผลิตเช่นเดียวกัน)
                4.10  นำชานเกวียน  โดยใช้สิ่งเจาะเป็นรูป               ด้านข้าง  (ใน)  โม้โทกตรงจุดที่ติดกับไม้คั่นหน้าของอีกสองจุด  ตรงระยะห่างจากจุดแรกในด้านหน้า  (ส่วนแหลม)  ประมาณ  40-50  ซม.   80-100  ซม.
                4.11  ทำแอก  โดยใช้ไม้ขนาดโตกว่า  ไม้โทก  แต่เล็กกว่าไม้ทำดุม  มาทำให้ตรงจุดกึ่งกลางด้านบนเหมือนหนอกวัวตัวผู้ ส่วนที่เหลือทำเป็นวงกลม  ขนาดส่วนปลายเล็กและเรียกว่า  ส่วนกลาง  ตรงจุดกึ่งกลางด้านล่างเจาะรู  1-1”  ลึกประมาณ  5  ซม. ไว้สำหรับไส่ไม้โม้ะ  ตรงระยะห่างจากปลายทั้งสองข้างเข้าในประมาณ  15-20  ซม.  เจาะรูสี่เหลี่ยมไว้สำหรับใส่ไลความยาวของเอกเท่ากับความยาวของไม้ขวางทาง
                4.12  ทำไม้โม้ะ  ทำจากไม้กระดานที่มีขนาดหนาหน่อย  ความยาว  20-30  ซม.  ลักษณะเหมือนหลังเต่า  ความกว้างเท่ากับระยะห่างของไม้โทกซึ่งประกอบกันเข้าเป็นปลายแหลม  ตรงกลางทำร่องขนาดเท่ากับไม้ค้ำหัว  เพื่อจะคาบได้แน่นไม่หลุดง่าย
                4.13  ทำไลหรือเพลา  ทำด้วยไม้เนื้อแข็งกลึงให้มีขนาดเล็กกว่ารูดุมเล็กน้อย  ความยาวมากกว่าความยาวของดุม ประมาณ  5-10  ซม.  (ในปัจจุบันนิยมใช้เหล็กมากกว่า  เพราะใช้งานได้ดีกว่าไม่หัก)
                เมื่อเตรียมชิ้นาส่วนต่าง    พร้อมแล้วขั้นตอนต่อไปคือการประกอบรูปร่างของเกวียนโดยเริ่มตามลำดับขั้นตอนคือ
                                1.  วางไว้โทก  ให้ระยะห่างด้านหลักพอดี  ทำน้ำมันยางตรงรอยเจาะแล้วใส่ไม้คั่นหน้ากลางและหลัง
                                2.  นำทอระนีมามัดเข้ากับส่วนล่างของไม้คั่นกลาง  ด้วยหวาย  ให้แน่นที่สุด  หาหวายด้วยน้ำมันยาง  (ปัจจุบันใช้ลวดหรือเชือกมัดแทน)
                                3.  นำไม้ขวางทางด้านหน้าและด้านหลังมาวางบนไม้คั่นหน้าทัดด้วยหวายตรงกลางตอกด้วยลิ่มให้มั่นคง
                                4.  หาไม้คำขนาดประมาณ  1  เมตรมาค้ำผกให้โครงร่างของเกวียนสูงขึ้น  แล้วนำล้อเกวียนซึ่งประกอบไว้เรียบร้อยแล้วยกขึ้นใส่ไลหรือเพลาก่อนแล้วจึงนำมาต่อกับทอระนี  นำไม้แพดมาโดยใส่ไลเข้าในรูที่เจาะไว้ก่อนแล้วจึงนำส่วนปลายที่เจาะรูไว้ทั้งสองด้าน  ไปเสียบปลายไม้ขวางทางทั้งหน้าและหลัง  มัดไม้ขวางทางกับไม้แพดด้วยหวาย
                                5.  ทำวิธีการเดียวกับข้อ  4  ในด้านตรงข้าม
                                6.  นำไม้ขนาดเท่ากับรูที่เจาะสำหรับนำชานเกวียนมาประกอบเข้าทั้ง  3  จุด  แล้วมัดส่วนปลายของแหลมเกวียน  เจาะรูด้านข้างให้ทะลุถึงกันใส่ลิ่มให้แน่น
                                7.  นำไม้ค้ำที่เตรียมไว้มาเลียบเข้ากับเอวแล้วนำส่วนที่เป็นง่ามมาประกบตรงรอยที่นำร่องไว้มัดด้วยหวายหรือเชือกหรือหนัง  โดยวิธีมัดกลับไปกลับมาแล้วมัดรวบตรงกลางของไม้ค้ำหัว
                                8.  นำไม้ที่นำมาค้ำโรงร่างก่อนใส่ล้อออก  แล้วนำไม้หัวเต่ามาวางบนไม้ขวางทางทั้งสองลแล้วใช้หวายมัดให้หัวเต่ากับตรงรอยต่อจุดที่กลังเป็นรูปดอกบัวกับไม้ขวางทางให้แน่นที่สุด
                                9.  หาไม้กระดานความยาวเท่ากับความยาวของชานผาดี  เพื่อทำชานเกวียนเพื่อใช้สำหรับให้คนขับนั่ง  และบริเวณพื้นที่เรียกว่า  เรือนเกวียน  คือพื้นที่จากไม้ขวางทางด้านหน้าถึงด้านหลังและพื้นที่ด้านในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เหลือจากส่วนที่ใช้เป็นที่สำหรับใส่ดุมเกวียนแล้ว
                        10.  เจาะรูที่ไม้หัวเต่าตรงจุดใกล้กับรอยต่อหัวกลึงทั้งสองข้างทุกตัวเพื่อใส่ไม้สำหรับ  ทำข้างเมื่อต้องการ
หมายเหตุ 
                1.  ในการมัด  ให้ทอระนีซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางด้านล่างกับไม้คั่นกลางซึ่งเป็นส่วนบน  บางช่วงจะเจาะรูที่ไม้โทกตรงจุดที่ห่างจากไม้คั่นกลางออกทั้งข้างซ้ายและข้างขวา  ประมาณข้างละ  20  ซม.  เพื่อใส่ไม้ลักษณะคล้ายไม้คั่นกลางออกทั้งข้างซ้ายและขวา  ประมาณข้างละ  20  ซม.  เพื่อใส่ไม้ลักษณะคล้ายไม้คั่นแต่เล็กกว่า  ไม้นี้มีไว้สำหรับผูกทอระนีโยงจากจุดที่ทำเหมือนหูหิ้วถุงกระดาษมายังไม้ดังกล่าวทั้งสองข้างสลับกันไปมายิ่งจะทำให้มีความแน่นหนา  และมั่นใจยิ่งขึ้น
                2.  โรงเรือนของเกวียนทำขึ้นภายหลัง  โดยนำไม้ความยาวตามขนาดที่ต้องการเสียบต่อกับจุดที่เจาะไว้ตรงไม้หัวเต่า แล้วใช้ไม้กระดานตีเป็นด้านหน้า
                3.  โรงเรือนที่ใช้สำหรับขนสิ่งของที่มีจำนวนมากและมีขนาดเล็ก  เรียกว่า  กะโสบ”  เป็นรูปทรงปริมาตร  ความกว้างเท่ากับไม้คั่น  ความสูงตามที่ต้องการีแต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ระหว่าง  80-100  ซม.  และความยาวเท่ากับช่วงระหว่างไม้ขวางทางด้านหน้าถึงด้านหลัง  สานโดยไม้ไผ่  ทำตอกสานให้แบบขนาดกว้าง  1.5  2  ซม.  นิยมสานด้วย  ลายสอง”  หรือลายสองขัดปีด้านหลังเปิดสำหรับใส่สิ่งของบรรทุก  หรือให้คนขึ้นนั่งได้
                4.  ตรงรอยต่อที่เจาะรูและเปิดให้แน่นด้วยหวายนั้นจะเจาะรูเล็ก    เพื่อทำกำไลคือไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งที่ตอกให้โปล่ไว้  สำหรับมัดเกาะหวายหรือเหล็กไว้
"ประวัติเกวียนไทย"
เกวียน  เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่มีล้อเลื่อน อายุเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน มี 2 ล้อ เคลื่อนที่ไปโดยใช้วัวหรือควายเทียมลากไป โดยปกติใช้ 2 ตัว ตามตำนานกล่าวว่า มนุษย์รู้จักใช้ล้อมาก่อน ยุคประวัติศาสตร์ ส่วนเกวียนที่เทียมสัตว์และรถศึกมีปรากฏแน่ชัดในสมัยกรีกและโรมัน

          ในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นของไทย มีวรรณคดี พงศาวดารหลายเรื่องที่กล่าวถึงเกวียน เช่นใน เรื่องพระร่วงส่งส่วยน้ำ คนไทยได้ใช้เกวียนบรรทุกส่วยไปบรรณาการขอมผู้มีอำนาจ

          ในสมัยหลัง ๆ สมุหเทศาภิบาลใช้   "เกวียนด่าน"   เดินทางจากอุบลราชธานีมายังกรุงเทพฯ   โดยนั่ง เกวียนคันหนึ่งมาแล้วเปลี่ยนนั่งคันใหม่ต่อกันเป็นทอด ๆ

          ในสมัยที่ยังไม่มีรถยนต์ใช้ในการไปตรวจราชการท้องที่ของข้าราชการ   ได้ใช้ส่วนกลางของเกวียน เป็นที่นอน ใช้ส่วนหน้าเป็นโต๊ะเขียนหนังสือ ใช้ใต้ถุนเกวียนเป็นที่หุงหาอาหาร

          เกวียนแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ เกวียนเทียมวัวและเทียมควาย เกวียนเทียมวัวจะเตี้ยกว่า ทางภาคใต้จะนิยม ใช้ควายเทียมเกวียน ส่วนภาคเหนือนิยมใช้วัวเทียม

          ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ตรากฎข้อบังคับเพื่อใช้ควบคุมการใช้เกวียนนี้ขึ้น จึงนับว่าเป็นกฎหมายฉบับ แรกว่าด้วยการใช้เกวียน แต่มีผลบังคับเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 6 ได้ทรงดำริว่าขนาดของล้อ เกวียนกว้างเท่ากันทั่วราชอาณาจักร

          พ.ศ.2460 กำหนดให้ล้อเลื่อนทุกชนิดในเขตพระนครต้องจดทะเบียนรับใบอนุญาตขับขี่ทุก ๆ ปี ครั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีประกาศพระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2478 กำหนดให้เก็บค่าจดทะเบียนเกวียน เล่มละ 1 บาท นับตั้งแต่เริ่มใช้จนชั่วอายุเกวียน และผ่อนผันให้ผู้ ขับขี่เกวียนไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่และนับตั้งแต่นั้นมาก็มิได้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเกวียนอีกเลย

ล้อ(เกวียน) น่าจะอยู่กับภูมิภาคนี้ อย่างน้อยพันก่วาปีในกรุงราชคฤห์ มีร่องรอย ล้อเกวียน บาดลึกลง ในเนื้อหิน
พุทธศาสนา ที่เข้ามา น่าจะเอาความรู้ต่างๆมาด้วยสภาพ ภูมิประเทศ ล้านนา เป็น ที่ราบในหุบ เขา
เกวียน แต่ละ แห่ง พัฒนาต่างกัน เชียงราย จะเบา เล็กกว่าและเป็นเทคนิค ของช่างเกวียน แต่ละ สกุลด้วย

.....ครั้งที่ดินแดนล้านนายังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นาๆพันธุ์ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล อาชีพ ของชาวล้านนาในครั้งกระนั้นคืออาชีพเกษตรกรรม การขนผลผลิตจากเรือกสวนไร่นามาเก็บไว้ยังบ้านนั้นชาวล้านนาสมัยกึ่งศตวรรษ ใช้ยานพาหนะชนิดหนึ่งเรียกว่า " ล้องัว " ล้องัว ของชาวล้านนามีลักณะเตี้ย กว้าง แข็งแรง ไม่บอบบาง อ่อนช้อยเหมือนเกวียนแบบภาคกลาง และอีสาน ส่วนประกอบของ ล้องัวมีดังนี้
" แว่นล้อ" (กงเกวียน) มี " ดุมล้อ" ซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง คือไม้ประดู่กลึงให้สวยงาม เป็นจุดศูนย์กลางแผ่ด้วย ซี่ล้อ (กำเกวียน) ทำจากไม้สักจำนวน 16 ซี่ แว่นล้อ นี้จะมี " ขวักล้อ" (ฝักมะขาม) ซึ่งทำจากไม้สักเป็นรูปโค้ง เรียงต่อกันเป็นวงกลม จำนวน 8 ท่อน ยึดติดกันด้วยเดือยแล้วรัดให้แน่นด้วยเหล็กแผ่นบางรูปวงกลมขนาดพอดีกับแว่น แว่นล้อ หนาประมาณ 1 ส่วน 2 เซนติเมตร แว่นล้อสองวงยึดติดกันด้วย " แก๋นล้อ " (เพลา) ซึ่งเป็นเหล็กยาว ตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เศษ 1 ส่วน 2 นิ้วมี " แซ่ " (สลัก,ลิ่ม)ฝังติดสองหัวของ แก๋นล้อ ที่โผล่มาจาก ดุมล้อ มีคำพังเพยแบบล้านนาบทหนึ่งกล่าวเปรียบเปรยไว้อย่างน่าฟังเกียวกับ แก๋นล้อ ว่า " จะซื้อล้อหื้อก้มผ่อแก๋น จะเลือกผู้แทนหื้อแหงนผ่อหน้า " 
แก๋นล้อ นี้จะสอดเข้าไปใต้ " กะหลก " (กะโปก) ที่ทำจากไม้เนื้อแข็งคือ ไม้ชิงชัน เซาะร่องยาวเพื่อเก็บ แก๋นล้อ ให้มั่นคง แก๋นล้อ กับ กะหลก จะยึดติดกันอย่างมั่นคงด้วยเหล็ก สกรู น๊อต ที่เจาะผ่าน แก๋นล้อ ไปทะลุ กะหลก
" กันจั๊ก " (ทูบ) ทำจากไม้ชิงชัน มีลักษณะคล้ายตัว V วางพาด กะหลก และมี " กุ๊มจ๊าง " แปลว่าแท่นช้าง ซึ่งทำจากไม้ชิงชันแช่นกัน มีความยาวกว่า กะหลก ข้างละ 1 ฟุต ทับ กันจั๊ก อีกชั้นหนึ่งระหว่าง กะหลก กับ กุ๊มจ๊าง ก็จะมีเหล็ก สกรู น๊อต ยึดติดกันให้มั่นคงเช่นกัน ส่วนหัวของ กันจั๊ก จะมี " กันคอ " (แอก) วางพาดขวางอยู่ยึดติดกันด้วยเหล็ก สกรู น๊อต มัดด้วยเชือกที่ฟั่นจากหนังวัว ควาย อีกรอบหนึ่ง กันคอ จะเจาะรูสองรูที่ปลายไม้ทั้งสอง เพื่อใช้ไม้ " หลักคอ " (ลูกแอก)เสียบส่วนคอของวัว จะสอดอยู่ระหว่าง หลักคอ โดยมี " สายอก " (ทามรัดคอ)ซึ่งทำจากเชือกถักคล้อง หลักคอ อันหนึ่ง อ้อมผ่านใต้คอวัว แล้วมาคล้อง หลักคอ อีกอันหนึ่ง เป็นการตรึงคอวัวให้อยู่กับ กันคอ อย่างมั่นคง ช่วงก่อนจะถึง " เฮือนล้อ " (โครงเกวียน) จะมีกล่องไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เรียกว่า " ตู้ล้อ " ติดบานพับเปิด ปิดได้ ประโยชน์ใช้สอยคือเป็นที่เก็บข้าวของจิปาถะในการเดินทางเช่น ห่อข้าว หมาก เมี่ยง บุหรี่ เป็นต้น
" เฮือนล้อ " (โครงเกวียน) คือ โครงไม้สี่เหลี่ยมมี " ไม้ซี่เฮือนล้อ "(ไม้เสากง) ติดห่างๆ กัน เพื่อให้โปร่ง จะมีส่วนที่ยาวกว่าแล้วปาดปลายเป็นรูปใบดาบที่เรียกว่า " เดี่ยวซี่ " เฮือนล้อ จะเป็นส่วนที่ได้รับการตกแต่งให้สวยงาม มี " ตาดหน้า" (ไม้กั้นด้านหน้า) ทำจากแผ่นไม้ขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประดับลวดลายให้ลึกลงไป ด้วยสิ่วเป็นลายเส้น เป็นศิลปะแบบพื้นบ้านล้านนา
ลวดลายที่นิยมทำกันมีหลายแบบ เช่น ลายหม้อน้ำมีไม้เลื้อยตามคติพุทธศานาดั้งเดิม เรียกว่า " ปูรณฆฎ หรือ ปูรณกลศ " ซึ่งแสดงถึงสัญลักษณ์ชีวิตและการสร้างสรรค์ลวดลายนาคประกอบ อกไม้ โดยทำเป็นรูปนาค 2 ตัวเลื้อยลงด้านล่างหันหน้าเข้าหากันนิยมติดประจกเงาวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ติดอยู่ 2 วง ด้านหลังของ เฮือนล้อ จะมี " ตาดหลัง " หรือ ตาดจ๊าง (ไม้กั้นด้านหลัง) ตรงกลางทำเป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักรูปนูนต่ำรูปช้างซึ่งยุคแรกจะทำเป็นรูปช้างด้านข้างหนึ่งตัวกำลังเดินหันหน้าเข้าหากัน ใช้งวงชูพานคล้ายรัฐธรรมนูญ
ระหว่างส่วนปลายของ กันจั๊ก และ ตาดหลัง , ตาดจ๊าง จะมีแผ่นไม้ที่สวยงามอีกแผ่นหนึ่งคั่นอยู่ เรียกว่า " โก่งกิ้ว " เป็นแผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ส่วนล่างของ โก่งกิ้ว จะปาดเป็นรูปโค้งคล้ายสาหร่ายรวงผิ้ง ลวดลายของ โก่งกิ๊ว ใช้สิ่ว ตอกเป็นลายเส้น รูปนาคสองตัว เลื้อยหันหลังเกี่ยวหางกันมีลวดลายประกอบ เหนือหัวของนาคทั้งสองตัวจะติดกระจกเงารูปวงกลมเช่นเดียวกับ ตาดหน้า
ลวดลายทั้งหมดคือ " ตาดหน้า " ตาดหลังหรือ " ตาดจ๊าง" และ โก่งกิ๊ว ระบายด้วยสีน้ำมัน สีฉูดฉาดด้วยฝีมือช่างพื้นบ้าน ดูซื่อๆ แต่มีความงามแอบแฝงอยู่.......
...........ปัจจุบัน " ล้องัว " ได้สูญหายไปจากวิถีชีวิตของชาวล้านนาไปแล้ว เพราะล้านนาวันนี้ ไม่ใช่ดินแดนเขียวขจีไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่เป็นดินแดนที่กำลังก้าวสู่เขตอุตสาหกรรม ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเร่งรีบ เน้นปริมาณ " ล้องัว" จึงถูกกว้านซื้อเข้าสู่ร้านขายของเก่าเพื่อให้เจ้าของโรงแรม ร้านอาหาร ซื้อไปประดับบริเวรสนามหญ้า หรือไม่ก็ถอดส่วนประกอบ " ล้องัว " ออกเป็นชิ้นๆ " แว่นล้อ " ถูกนำไปทำเป็นรั้วของร้านประเภทแอนทีค เพราะดูแล้วเขาว่า มันเป็นศิลป์ดี....



เกวียนเป็นพาหนะที่สำคัญที่สุดในการเดินทางและบรรทุกสิ่งของตั้งแต่สมัยโบราณ  หรือแม้กระทั่งสมัยปัจจุบัน  เกวียนก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางของชาวชนบทอันเป็นท้องถิ่นช่วงการคมนาคมยังหาความสะดวกได้ยาก  ทั้งนี้  เพราะเกวียนสามารถใช้บรรทุกหรือเป็นพาหนะเดินทางได้แม้แต่ในผิวถนนที่ขรุขระหรือ  ถนนที่เต็มไปด้วยโคลนตม  ซึ่งรถยนต์ไม่สามารถจะผ่านไปได้
วิธีการผลิต  การทำเกวียนเป็นศิลปะทางช่างที่ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญสูง  ต้องอาศัยทักษะแห่งการฝึกฝนมาก  ประวัติและวิธีการผลิต  มีความเป็นมาและวิธีการอย่างใดนั้น  ไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่แน่นอน  แต่อาศัยข้อมูลจากผู้สูงอายุและผู้มีประสบการณ์  ตลอดจนทักษะในการผลิตหลายท่าน  จึงสามารถนำข้อมูลต่าง    มากล่าวในที่นี่ได้
ลักษณะการใช้งาน  เกวียนเป็นพาหนะที่มีหลักการทำงาน  คือ  อาศัยกำลังลากจากโคนหรือกระบือ  สามารถเลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างสะดวก  โดยล้อเลื่อนทั้งสองข้าง  หน้าที่และอุปกรณ์ที่สำคัญ  มีดังต่อไปนี้
                1.  หอระพี  ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  มีหน้าที่รับน้ำหนักการบรรทุกมากที่สุด  ที่ปลายทั้งสองด้านเจาะรูเพื่อนำ  ไลเกวียน” หรือ  คยเกวียน”  หรือ  โพล่งของเกวียนต่อไป
                2.  ไม้โทก  มี  2  อัน  คือ  ไม้โทกด้านซ้ายและไม้โทกด้านขวา  เป็นส่วนที่ยาวที่สุด  ทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ  4-5 เมตร
                3.  ไม้แพด  มี  2  อัน  คือ  ไม้แพดด้านซ้ายและไม้แพดด้านขวา  เป็นส่วนที่ยาวที่สุด  ทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ  4-5 เมตร
                4.  ไม้ขวางทาง  มี  2  อัน  คือ  ไม้ขวางทางด้านหน้าและไม้ขวางทางด้านหลัง  ไม้ขวางทางด้านหน้าอยู่ต่อจาก  ซานเกวียน”  ส่วนไม้ขวางทางด้านหลังเป็นส่วนที่อยู่หลังสุดของเกวียนเมื่อนำไม้แพดและไม้ขวางทางต่อเข้าด้วยกันจะเป็นส่วนที่ทำให้เกวียนมีรูปลักษณะ  เป็นสี่เหลี่ยมซึ่งอยู่ส่วนหลังของผู้ขับและโคเทียม
                5.  ไม้หัวเต่า  มี  2  อัน  คือ  ไม้หัวเต่าหน้าและไม้หัวเต่าหลัง  เป็นส่วนที่อยู่เหนือไม้ขวางทางทั้งหน้า  หลัง  ความยาวขึ้นอยู่กับระยะห่างของไม้โทกทั้งซ้าย  -  ขวา  แต่มีขนาดยาวกว่าด้านละ  10  ซม.  เป็นรูป              คล้ายคมแฝกที่ปลายทั้งสองข้างกลึงเป็นรูปคล้ายดอกบ้วตูม
                6.  ดุม  มี  2  ข้าง   คือ  ดุมข้างซ้าย  -  ขวา  ความยาวประมาณ  50-70%  ซม.  หรือเท่ากับระยะห่างระหว่างไม้โทกกับไม้แพดทั้งซ้าย - ขวา  ตรงจุดกึ่งกลางของพื้นที่ตัดจะเจาะรูจนทะลุถึงกันได้  เพื่อไว้สำหรับใส่เพลาหรือไลเกวียนหรือคยเกวียน ประมาณ  1-1
                7.  ไลเกวียนหรือคยเกวียนหรือเพลาเกวียน  เป็นไม้ที่กลึงจนกลมและมีผิดละเอียดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า  ของรูที่เจาะดุมเล็กน้อย  ไลเกวียนเป็นไม้ที่สอดผ่านดุมไปยังไม้โทกและไม้แพด  ซึ่งเจาะรูกลม  เท่ากับรูดุม  ลึกประมาณ  1-2”  ไลเกวียนมีจำนวน  2  อัน  เท่ากับจำนวนดุม   การประกอบทำลักษณะเดียวกันทั้งข้างซ้าย  ขวา
                8.  ตีนเกวียนหรือล้อเกวียนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  มี  4  กีบต่อกันเข้าเป็นรูปวงกลม  มี  กำเกวียน”  ซึ่งทำหน้าที่เหมือนซี่เกวียนเชื่อมต่อระหว่างตีนเกวียนกับดุมเกวียน
                9.  กำเกวียน  ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  ความยาวมากกว่าระยะทางระหว่างตีนเกวียนกับดุมเกวียนเล็กน้อย เป็นไม้รูปสี่เหลี่ยมมีจำนวนข้างละ  16  อัน  รวม  32  อัน
                10.  ชานเกวียน  เป็นพื้นไม้กระดานอยู่ส่วนแหลมของไม้โทก  คืออยู่ต่อจากไม้หัวเต่าไปส่วนหลัง  ความยาวประมาณ  1 เมตร
                11.  ไม้คั่นเกวียน  มี  3  อัน  ไม้คั่นหน้า, ไม้คั่นกลางและไม้คั่นหลังมีความยาวเท่ากับระยะห่างระหว่างไม้โทกทั้งซ้าย ขวา  มีหน้าที่คล้ายตงบ้าน  คือรองรับน้ำหนักบรรทุกเหมือนตทอระนี                 12.  แอก  เป็นขนาดยาวเท่ากับความยาวของไม้ขวางทาง  ตรงจุดกึ่งกลางต้นบันทำเป็นรูปคล้าย  หนอกวัว”  ด้านล่างเจาะรู  1-1”  ไว้สำหรับใส่ไม้คำหัว                13.  ไม้ค้ำหัว  เป็นไม้ความยาวประมาณ  20  เซนติเมตร  1-1”  ส่วนล่างทำเป็นรูปตัว  วาย  (Y)  เพื่อคาบกับ  โม๊ะ
                14.  โม๊ะ  เป็นไม้ลักษณะคล้ายส่วนบนด้านหน้ารของอานม้า  ขนาดเท่ากับรอบประกบด้านหน้าของไม้โทก  โม๊ะมีไว้เพื่อรองรับน้ำหนักของเอก  โดยผ่านทางไม้ค้ำหัว
 3.  อุปกรณ์การผลิต
                การผลิตเกวียนเป็นงานที่ต้องอาศัยกำลังคนไม่น้อยกว่า  3  คนขึ้นไปร่วมกันทำ  แต่ละคนต้องมีความรู้และทักษะดี รู้จักขั้นตอนก่อนหลัง  รู้จักใช้อุปกรณ์ต่าง    เท่าที่จำเป็นในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญในการผลิคคือ
                3.1  ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง  เช่น  ไม้เต็ง  ไม้ประดู่  เป็นต้น  โดยเฉพาะไม้โทกตินเกวียน  และกำเกวียน  จะใช้ไม้อย่างอื่นมิได้
3.2  เหล็กเหลี่ยมหรือเหล็กกลึง  เป็นอุปกรณ์การกลึงในสมัยโบราณที่มีคุณภาพของงานดียิ่ง  ลักษณะเป็นเหล็กซึ่งตีให้แบนใส่ด้ามขนาดพอเหมาะ
3.3  สิ่วเจาะ  สำหรับเจาะรู  โดยพูดไปแล้วการทำเกวียนจะไม่ใช่เหล็กตะปูเลย  แต่จะอาศัยกรรมวิธีอื่นที่ทำให้เกวียนหนาแน่น  ซึ่งจะกล่าวได้ต่อไปนี้
3.4  วัสดุอุปกรณ์ประกอบอื่น    หวาย  เชือก  น้ำมันยาง  ฯลฯ

 4.  ขั้นตอนและวิธีการผลิต
                ขั้นตอนในการผลิตแต่ละครั้ง  ช่างซึ่งมีความชำนาญไม่เหมือนกันจะผลิตด้วยขั้นตอน  ที่แตกต่างกัน  ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนการผลิตของนายมอญ  สุขรี  อายุ  72  ปี  มีประสบการณ์มาประมาณ  50  ปี  ซึ่งขั้นตอนในการผลิตตามลำดับก่อนหลังดังนี้
                4.1  ไลไม้โทก  คือ  ขั้นตอนแรกในการเริ่มทำเกวียน  การโกโมกหรือไลไม้โทก  หมายถึง  การตัดรูปทรงของไม้โทกให้ส่วนด้านหน้าประกอบกัน  และช่วงจากจุด  ไม้คั่นหน้า”  ไปด้านหลังขยายออก  กรรมวิธีนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อไม้ที่นำมาทำนั้น  ต้องมีเนื้อไม้ที่ดิบอยู่และต้องทำให้การขยายออกหรือแคบเข้าด้วยความใจเย็น  จะใจร้อนไม่ได้  เพราะจะทำให้ไม้แตกหรือหักได้
                4.2  เสี่ยนดุม  คือการกลึงดุมให้มีรูปทรงคล้าย  เต้าแคน”  วิธีการเสียนหรือกลึงมีกรรมวิธีคือเจาะรูตรงจุดกึ่งกลางของท่อนไม้  ซึ่งตกแต่งรูปทรงให้มีรูปทรงใกล้เคียงกับดุมที่ต้องการด้วยขวาน  การเจาะโดยทั่วไปจะใช้สว่านมือหรือที่ช่างเรียกว่า สว่าน”  (คย)  หมู”  เจาะจนทะลุได้ถึงกันได้  เมื่อเจาะรูเสร็จแล้วใช้เชือกมัดเกี้ยวท่อนดุม  แล้วอีกปลายด้านหนึ่งของเชือกไปมัดเกี้ยวกับไม้ซึ่งตั้งอยู่บนหลัก  2  หลัก  (ลักษณะเหมือนรูปตัว  H)  โดยอุปกรณ์ส่วนนี้เมื่อหมุนแกนไม้ด้านที่อยู่บนหลักแล้วจะทำให้ท่อนดุมที่ต้องการ  ใช้วิธีการนี้กับท่อนดุมทั้งซ้ายและขวาเมื่อกลึงเสร็จจะต้องเจาะรู  เข้ากำ”  รอบตัวดุม  16  รู  โดยใช้สิ่วเจาะรูสำหรับ  เข้ากำ”  นี้ต้องให้มีขนาดเดียวกันให้มากที่สุด
                4.3  ทำไม้กำเกวียน  คือ  การทำไม้รูปสี่เหลี่ยมขนาดส่วนที่จะตอกเข้าดุมเท่ากับรูที่จะไว้ส่วนปลายอีกด้านทำให้โตกว่าเล็กน้อย  เมื่อนำมาตอกเข้ากับดุมนั้นก่อนตอกเข้าควรใส่  เข้ากำ”  นี้จะต้องให้มีขนาดเดียวกันให้มากที่สุด
                4.4  เข้าตีน  คือ  กรรมวิธีการนำเอาไม้เนื้อแข็งมาทำรูปส่วนโค้งเหมือนฝักมะขาม  4  ท่อน  หรือที่ช่างเรียกว่ากีบ  มาต่อกันเข้าเป็นรูปวงกลม  โดยอาศัยรอยบากตัวผู้และตัวเมีย  (ดูรูป)  แล้วตกแต่งให้เป็นรูปวงกลม  เมื่อได้รูปวงกลมแล้วทำดุมที่เข้ากำไว้แล้วมาวางโดยให้ดุมอยู่จุดศูนย์กลางวงกลมใช้ดินสอขีดตำแหน่งของกำด้านที่จะเข้ากับตีน  แล้วถอดคืนแต่ละท่อนออกมาเจาะรูให้มีขนาดเท่ากับขนาดกำในแต่ละจุดทั้ง  16  กำ  เมื่อเจาะเสร็จแล้วก็นำแต่ละท่อนมาประกอบเข้าตามตำแหน่งเดิมทาน้ำยางตรงรอยต่อจะจุด  เจ้ากำ”  จะทำให้มีความหนาแน่นมากขึ้น  จะได้ตีนเกวียนหรือลังเกวียนตามต้องการ  (ทำด้านที่เหลืออีกด้านหนึ่งด้วยกรรมวิธีเดียวกัน)
                4.5  นำไม้โทกที่  ไลโทก”  ได้ที่แล้วมารเจาะด้านข้าง  (ใน)  ตรงจุดกึ่งกลาง  1  ที่ด้านที่อยู่ตรงห่างจากปลายด้านหลัง 10  เซนติเมตร  1  จุด   และจุดกึงกลางระหว่างจุดที่อยู่หน้ากับจุดอีก  1  ชุด  โดยเจาะด้านตรงข้ามที่เหลืออีกตามจุดและระยะเดียวกัน  เพื่อใส่ไม้คั่นหน้า  กลาง  หลัง  ตามลำดับ
                4.6  นำไม้มาทำเป็นสี่เหลี่ยม  ขนาดเท่ากับรูที่เจาะตามข้อ  4.5  ความยาวเท่ากับระยะห่างระหว่างไม้โทกทั้งซ้าย -  ขวาเล็กน้อย  เมื่อประกอบกันเข้าจะมีลักษณะคล้ายบันได
                4.7  นำไม้ที่เตรียมไว้มาขวางทาง  โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไม้โทก  ปลายทั้งสองข้างเล็กกว่าส่วนกลางเล็กน้อย  ความยาวเท่ากับระยะห่างของไม้โทกรวมกันความยาวของระยะระหว่างไม้โทกกับไม้แพดทั้งสองข้างรวมกัน  ปลายทั้งสองข้างกลึงหรือทำให้เป็นวงกลมขนาด  1  นิ้ว  ตรงจุดที่ตรงกับระยะห่างของไม้โทกเจาะรูเป็นสี่เหลี่ยม  (ทะลุถึงไม้โทกด้วย)  ไว้สำหรับตอกลิ่มบังคับ
                4.8  นำไม้ที่เตรียมไว้  มาทำไม้แพด  ลักษณะตรงปลายทั้งสองข้างเล็กและเรียกว่าส่วนกลางตรงจุดกึ่งกลางเจาะรู  1-1” ไว้สำหรับใส่ไลเกวียนหรือเพลาเกวียน  ที่ระยะห่างจากปลายทั้งสองข้างเข้าด้านใน  5  ซ.ม.  เจาะรู  เท่ากับขนาดของส่วนปลายไม้ขวางทาง  (ส่วนด้านที่เหลือก็มีวิธีการผลิตเช่นเดียวกัน)
                4.9  นำไม้ที่มีขนาดโตเท่ากับไม้ที่ทำดุม  ขนาดความยาวเท่ากับระยะห่างของไม้โทก  (ด้านนอก)  มาทำให้เป็นรูปวงรี เจาะรูขนาด  1”  ไว้สำหรับใส่เกวียนหรือเพลาเกวียน  ที่ระยะห่างจากปลายทั้งสองข้างเข้าด้านใน   5  ซม.  เจาะรู  เท่ากับขนาดของส่วนปลายไม้ขวางทาง  (ส่วนด้านที่เหลือก็มีวิธีการผลิตเช่นเดียวกัน)
                4.10  นำชานเกวียน  โดยใช้สิ่งเจาะเป็นรูป               ด้านข้าง  (ใน)  โม้โทกตรงจุดที่ติดกับไม้คั่นหน้าของอีกสองจุด  ตรงระยะห่างจากจุดแรกในด้านหน้า  (ส่วนแหลม)  ประมาณ  40-50  ซม.   80-100  ซม.
                4.11  ทำแอก  โดยใช้ไม้ขนาดโตกว่า  ไม้โทก  แต่เล็กกว่าไม้ทำดุม  มาทำให้ตรงจุดกึ่งกลางด้านบนเหมือนหนอกวัวตัวผู้ ส่วนที่เหลือทำเป็นวงกลม  ขนาดส่วนปลายเล็กและเรียกว่า  ส่วนกลาง  ตรงจุดกึ่งกลางด้านล่างเจาะรู  1-1”  ลึกประมาณ  5  ซม. ไว้สำหรับไส่ไม้โม้ะ  ตรงระยะห่างจากปลายทั้งสองข้างเข้าในประมาณ  15-20  ซม.  เจาะรูสี่เหลี่ยมไว้สำหรับใส่ไลความยาวของเอกเท่ากับความยาวของไม้ขวางทาง
                4.12  ทำไม้โม้ะ  ทำจากไม้กระดานที่มีขนาดหนาหน่อย  ความยาว  20-30  ซม.  ลักษณะเหมือนหลังเต่า  ความกว้างเท่ากับระยะห่างของไม้โทกซึ่งประกอบกันเข้าเป็นปลายแหลม  ตรงกลางทำร่องขนาดเท่ากับไม้ค้ำหัว  เพื่อจะคาบได้แน่นไม่หลุดง่าย
                4.13  ทำไลหรือเพลา  ทำด้วยไม้เนื้อแข็งกลึงให้มีขนาดเล็กกว่ารูดุมเล็กน้อย  ความยาวมากกว่าความยาวของดุม ประมาณ  5-10  ซม.  (ในปัจจุบันนิยมใช้เหล็กมากกว่า  เพราะใช้งานได้ดีกว่าไม่หัก)
                เมื่อเตรียมชิ้นาส่วนต่าง    พร้อมแล้วขั้นตอนต่อไปคือการประกอบรูปร่างของเกวียนโดยเริ่มตามลำดับขั้นตอนคือ
                                1.  วางไว้โทก  ให้ระยะห่างด้านหลักพอดี  ทำน้ำมันยางตรงรอยเจาะแล้วใส่ไม้คั่นหน้ากลางและหลัง
                                2.  นำทอระนีมามัดเข้ากับส่วนล่างของไม้คั่นกลาง  ด้วยหวาย  ให้แน่นที่สุด  หาหวายด้วยน้ำมันยาง  (ปัจจุบันใช้ลวดหรือเชือกมัดแทน)
                                3.  นำไม้ขวางทางด้านหน้าและด้านหลังมาวางบนไม้คั่นหน้าทัดด้วยหวายตรงกลางตอกด้วยลิ่มให้มั่นคง
                                4.  หาไม้คำขนาดประมาณ  1  เมตรมาค้ำผกให้โครงร่างของเกวียนสูงขึ้น  แล้วนำล้อเกวียนซึ่งประกอบไว้เรียบร้อยแล้วยกขึ้นใส่ไลหรือเพลาก่อนแล้วจึงนำมาต่อกับทอระนี  นำไม้แพดมาโดยใส่ไลเข้าในรูที่เจาะไว้ก่อนแล้วจึงนำส่วนปลายที่เจาะรูไว้ทั้งสองด้าน  ไปเสียบปลายไม้ขวางทางทั้งหน้าและหลัง  มัดไม้ขวางทางกับไม้แพดด้วยหวาย
                                5.  ทำวิธีการเดียวกับข้อ  4  ในด้านตรงข้าม
                                6.  นำไม้ขนาดเท่ากับรูที่เจาะสำหรับนำชานเกวียนมาประกอบเข้าทั้ง  3  จุด  แล้วมัดส่วนปลายของแหลมเกวียน  เจาะรูด้านข้างให้ทะลุถึงกันใส่ลิ่มให้แน่น
                                7.  นำไม้ค้ำที่เตรียมไว้มาเลียบเข้ากับเอวแล้วนำส่วนที่เป็นง่ามมาประกบตรงรอยที่นำร่องไว้มัดด้วยหวายหรือเชือกหรือหนัง  โดยวิธีมัดกลับไปกลับมาแล้วมัดรวบตรงกลางของไม้ค้ำหัว
                                8.  นำไม้ที่นำมาค้ำโรงร่างก่อนใส่ล้อออก  แล้วนำไม้หัวเต่ามาวางบนไม้ขวางทางทั้งสองลแล้วใช้หวายมัดให้หัวเต่ากับตรงรอยต่อจุดที่กลังเป็นรูปดอกบัวกับไม้ขวางทางให้แน่นที่สุด
                                9.  หาไม้กระดานความยาวเท่ากับความยาวของชานผาดี  เพื่อทำชานเกวียนเพื่อใช้สำหรับให้คนขับนั่ง  และบริเวณพื้นที่เรียกว่า  เรือนเกวียน  คือพื้นที่จากไม้ขวางทางด้านหน้าถึงด้านหลังและพื้นที่ด้านในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เหลือจากส่วนที่ใช้เป็นที่สำหรับใส่ดุมเกวียนแล้ว
                        10.  เจาะรูที่ไม้หัวเต่าตรงจุดใกล้กับรอยต่อหัวกลึงทั้งสองข้างทุกตัวเพื่อใส่ไม้สำหรับ  ทำข้างเมื่อต้องการ
หมายเหตุ 
                1.  ในการมัด  ให้ทอระนีซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางด้านล่างกับไม้คั่นกลางซึ่งเป็นส่วนบน  บางช่วงจะเจาะรูที่ไม้โทกตรงจุดที่ห่างจากไม้คั่นกลางออกทั้งข้างซ้ายและข้างขวา  ประมาณข้างละ  20  ซม.  เพื่อใส่ไม้ลักษณะคล้ายไม้คั่นกลางออกทั้งข้างซ้ายและขวา  ประมาณข้างละ  20  ซม.  เพื่อใส่ไม้ลักษณะคล้ายไม้คั่นแต่เล็กกว่า  ไม้นี้มีไว้สำหรับผูกทอระนีโยงจากจุดที่ทำเหมือนหูหิ้วถุงกระดาษมายังไม้ดังกล่าวทั้งสองข้างสลับกันไปมายิ่งจะทำให้มีความแน่นหนา  และมั่นใจยิ่งขึ้น
                2.  โรงเรือนของเกวียนทำขึ้นภายหลัง  โดยนำไม้ความยาวตามขนาดที่ต้องการเสียบต่อกับจุดที่เจาะไว้ตรงไม้หัวเต่า แล้วใช้ไม้กระดานตีเป็นด้านหน้า
                3.  โรงเรือนที่ใช้สำหรับขนสิ่งของที่มีจำนวนมากและมีขนาดเล็ก  เรียกว่า  กะโสบ”  เป็นรูปทรงปริมาตร  ความกว้างเท่ากับไม้คั่น  ความสูงตามที่ต้องการีแต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ระหว่าง  80-100  ซม.  และความยาวเท่ากับช่วงระหว่างไม้ขวางทางด้านหน้าถึงด้านหลัง  สานโดยไม้ไผ่  ทำตอกสานให้แบบขนาดกว้าง  1.5  2  ซม.  นิยมสานด้วย  ลายสอง”  หรือลายสองขัดปีด้านหลังเปิดสำหรับใส่สิ่งของบรรทุก  หรือให้คนขึ้นนั่งได้
                4.  ตรงรอยต่อที่เจาะรูและเปิดให้แน่นด้วยหวายนั้นจะเจาะรูเล็ก    เพื่อทำกำไลคือไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งที่ตอกให้โปล่ไว้  สำหรับมัดเกาะหวายหรือเหล็กไว้

1 ความคิดเห็น:

  1. วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า IS งานธุรกิจ อสังหา เรื่อง ปัจจัยการเลือกซื้อ บ้านจัดสรร 2558-2559

    เขียนโดย drsamai Hemman ที่ 20:21 ไม่มีความคิดเห็น:
    ส่งอีเมลข้อมูลนี้
    BlogThis!
    แชร์ไปที่ Twitter
    แชร์ไปที่ Facebook
    แชร์ใน Pinterest

    วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า IS งานธุรกิจ อสังหา เรื่อง ปัจจัยการเลือกซื้อ บ้านจัดสรร 2558-2559
    วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า IS
    งานธุรกิจ อสังหา เรื่อง ปัจจัยการเลือกซื้อ บ้านจัดสรร 2558-2559
    ในการศึกษาเรื่อง กลุ่มงานธุรกิจ อสังหา คณะผู้จัดทำได้มีวิธีการดำเนินงานในการศึกษาเรื่อง งานการตลาด ปี 2558-2559 ซึ่งมีดังนี้
    1. วัสดุ อุปกรณ์และโปรแกรมที่ใช้ในการศึกษา
    1.1 คอมพิวเตอร์
    1.2 โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
    1.3. เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของโครงงาน
    1.4. หนังสือที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของโครงงาน
    2. วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
    2.1 คิดหัวข้อที่สนใจเพื่อนำเสนอ ผอ.ฝ่านพัฒนาธุรกิจ ที่ปรึกษาการค้นคว้า
    2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือ เรื่อง ปัจจัยการเลือกซื้อ บ้านจัดสรร ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
    2.3 ทบทวนเรื่องที่ศึกษาจากการเรียน IS 1 (การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้) เรื่อง ปัจจัยการเลือกซื้อ บ้านจัดสรร
    2.4 จัดทำโครงร่างการเขียนรายงานทางวิชาการ
    2.5 จัดทำโครงร่างต่อ ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ที่ปรึกษาการค้นคว้าเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    2.6 ศึกษาวิธีการจัดทำรายงานทางวิชาการเป็นรูปเล่ม
    2.7 นำเสนอความก้าวหน้าเป็นระยะๆ ตามระยะเวลาที่ครูที่ปรึกษาการค้นคว้ากำหนด เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า
    2.8 ศึกษาวิธีการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม
    2.9 จัดทำร่างรายงานทางวิชาการและเป็นรูปเล่ม
    2.10 ตรวจสอบความถูกต้องของร่างรายงานทางวิชาการ
    2.11 นำเสนอร่างรายงานทางวิชาการเป็นรูปเล่มต่อครูที่ปรึกษาการค้นคว้าเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
    2.12 จัดทำรายงานเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์
    2.13 จัดทำ Power Point นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม ธุรกิจ อสังหา
    2.14 เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น social media online (facebook)
    3.ทดลอง ใช้ผลงานการวิจัยและแนวคิด ตามหลักวิชาการ
    4.เสนอผลงาน ในกลุ่ม นักธุรกิจ เพื่อทุนการ ประฏิบัติงานเชิงวิชาการ
    5.เสนอแผนงานแก้ วิกฤต ในด้าน ปัจจัยการเลือกซื้อบ้าน
    เขียนโดย กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลุ่มน้ำท่านจีน NGO ที่ 20:05

    ตอบลบ